Latest News

            โดยทั่วไปแล้ว อุปกรณ์สำคัญแบบ Classic สำหรับการตั้งดวงจีน ก็คือ หนังสือจำพวกปฏิทิน 100 ปี (ซึ่งจะกล่าวต่อไปเกี่ยวกับวิธีใช้ท้ายบท) ส่วนในยุคปัจจุบันก็สามารถหันมาใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเกี่ยวกับการตั้งดวงจีนได้ซึ่งก็ช่วยอำนวยความสะดวกได้มากทีเดียวสำหรับท่านนักพยากรณ์

            ปฏิทินอีกรูปแบบหนึ่งที่ผู้เขียนอยากให้ท่านดูเป็นพอสังเขปด้วย ก็คือ ปฏิทินจีนแบบรายวัน ซึ่งบางท่านสามารถฉีกปฏิทินเก็บไว้ดูเนื่องในวันสำคัญๆ เช่น วันเกิดของบุตรหลานของท่าน เป็นต้น

ปฏิทินจีนแบบรายวัน


เรื่องถัดมาจะเป็นรายละเอียดที่ควรทราบเกี่ยวกับแท่งปี – แท่งเดือน – แท่งวันและแท่งเวลา

แท่งวัน จากตัวอย่างจะเห็นว่า วันที่ 30 ม.ค.2556 เป็นวัน 丙申
วันถัดไป คือ วันที่ 31 ม.ค.2556 เป็นวัน 丁酉
วันถัดไป คือ วันที่ 1 ก.พ.2556 เป็นวัน 戊戌
วันถัดไปก็ใช้วิธีไล่ลำดับราศีบนและล่างจับคู่กันไปเรื่อยๆ จนครบ 60 วัน ก็จะครบรอบ 60 กะจื้อ หมายความว่า วัน 丙申 ก็คือ วันที่ 30 ม.ค.2556 บวก 60 วัน (หรือ ลบ 60 วัน)

ในแต่ละวันจะแบ่งเป็น 12 ชั่วยาม (ชั่วยามละ 2 ชั่วโมง) จากตัวอย่างของปฏิทินรายวันของวันที่ 30 ม.ค. 2556

ยามที่ 1 เริ่มจากแถวบน (6 ชั่วยาม )นับจาก ขวา ไปซ้าย แถวล่างอีก 6 ชั่วยาม นับจากขวาไปซ้ายเช่นกัน ก็จะครบ 12 ชั่วยาม

การเริ่มวันใหม่แบบสากล พอถึงเวลาเที่ยงคืนก็ถือเป็นวันใหม่ แต่หากนับแบบจีนจะเร็วกว่า 1 ชั่วโมง หมายความว่า พอเริ่มเป็นเวลา 23.00 น.ของวันที่ 30 ม.ค. 2556
ก็จะถือเป็นวันใหม่ คือวัน 丁酉



ปฐมบท (หยิน-หยาง, เบญจธาตุ, ตารางราศีบน, ตารางราศีล่าง, ราศีบนและราศีล่างที่เทียบเท่ากัน) การตั้งดวงจีน (ตารางแสดงความสัมพันธ์ของ 60 กะจื้อ)
การตั้งดวงจีน (ช่วงเวลา)
วัยจร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

:: www.tiantek.com :: Designed by Templateism.com Copyright © 2014

รูปภาพธีมโดย Bim. ขับเคลื่อนโดย Blogger.