Latest News

ปฐมบท

ก่อนเรียนดวงจีน ผู้เขียนขอพูดถึงคำศัพท์ 2 คำ คำแรก คือ
1. หยิน–หยาง (อิม-เอี๊ยง)* หมายถึง 2 สิ่งที่เป็นคู่ตรงข้ามกัน เช่น หญิง-ชาย, กลางคืน-กลางวัน, เย็น-ร้อน เป็นต้น
2. เบญจธาตุ หรือ ธาตุทั้ง 5 ได้แก่ ธาตุดิน, ธาตุทอง, ธาตุน้ำ, ธาตุไม้, ธาตุไฟ

          สำหรับการเรียนดวงจีนในเบื้องต้น ขอให้ผู้เรียน จดจำอักษรจีนให้ได้ ซึ่งจะใช้เพียง 22 ตัวเท่านั้น โดยผู้เขียนขอแบ่งอักษรจีนออกเป็น 2 กลุ่ม – กลุ่มแรกมีอักษรจีน 10 ตัว ผู้เขียนขอเรียกว่า “กลุ่มราศีบน” เป็นกลุ่มที่เกี่ยวกับธาตุทั้ง 5 ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง ขอเรียกว่า “กลุ่มราศีล่าง” หรือ 12 นักษัตร นั่นเอง

ตารางราศีบน
ทุกปี พ.ศ. 7 8 9 0 1 2 3 4 5 6
ที่ลงท้ายด้วย
ราศีบน
อ่านว่า กะ อิก เปี้ย เตง โบ่ว กี้ แก ซิง หยิม กุ๋ย
ธาตุ ไม้ ไม้ ไฟ ไฟ ดิน ดิน ทอง ทอง น้ำ น้ำ
อิม/เอี๊ยง เอี๊ยง อิม เอี๊ยง อิม เอี๊ยง อิม เอี๊ยง อิม เอี๊ยง อิม

* หยิน-หยาง (เป็นภาษจีนกลาง) อิม-เอี๊ยง (เป็นภาษจีนแต้จิ๋ว)

ตารางราศีล่าง
ราศีล่าง อ่านว่า ปีนักษัตร ธาตุ อิม/เอี๊ยง
ทั่วไป เทียนเต็ก
จื้อ หนู-ชวด น้ำ เอี๊ยง อิม
ทิ่ว วัว-ฉลู ดิน อิม อิม
เอี้ยง เสือ-ขาล ไม้ เอี๊ยง เอี๊ยง
เบ้า กระต่าย-เถาะ ไม้ อิม อิม
ซิ้ง งูใหญ่-มะโรง ดิน เอี๊ยง เอี๊ยง
จี๋ งูเล็ก-มะเส็ง ไฟ อิม เอี๊ยง
โง่ว ม้า-มะเมีย ไฟ เอี๊ยง อิม
บี่ แพะ-มะแม ดิน อิม อิม
ซิม ลิง-วอก ทอง เอี๊ยง เอี๊ยง
อิ้ว ไก่-ระกา ทอง อิม อิม
สุก สุนัข-จอ ดิน เอี๊ยง เอี๊ยง
ไห หมู-กุน น้ำ อิม เอี๊ยง


ราศีบนและราศีล่างที่เทียบเท่ากัน**
ธาตุ ราศีบน อิม/เอี๊ยง ราศีล่าง
ไม้ใหญ่ เอี๊ยง
ไม้เล็ก อิม
ไฟใหญ่ เอี๊ยง
ไฟเล็ก อิม
ดินใหญ่ เอี๊ยง หรือ
ดินเล็ก อิม หรือ
ทองใหญ่ เอี๊ยง
ทองเล็ก อิม
น้ำใหญ่ เอี๊ยง
น้ำเล็ก อิม

** ตารางเทียบเท่าของราศีบนและล่างนี้ยึด อิม-เอี๊ยง ตามราศีบน ฉะนั้น ราศีล่างจึงต้องใช้ อิม-เอี๊ยง ตามราศีบน


วิธีเขียนอักษรตัวบนของจีน 10 ตัว
# ราศีบน อ่านว่า ธาตุ อิม/เอี๊ยง
1 กะ ไม้ใหญ่ เอี๊ยง
2 อิก ไม้เล็ก อิม
3 เปี้ย ไฟใหญ่ เอี๊ยง
4 เตง ไฟเล็ก อิม
5 โบ่ว ดินใหญ่ เอี๊ยง
6 กี้ ดินเล็ก อิม
7 แก ทองใหญ่ เอี๊ยง
8 ซิง ทองเล็ก อิม
9 ยิ้ม น้ำใหญ่ เอี๊ยง
10 กุ่ย น้ำเล็ก อิม


วิธีเขียนอักษรตัวล่าง 12 นักษัตร
# ราศีล่าง อ่านว่า ปีนักษัตร ธาตุ อิม/เอี๊ยง
1 จื้อ หนู-ชวด น้ำเล็ก อิม
2 ทิ่ว วัว-ฉลู ดินเล็ก อิม
3 เอี้ยง เสือ-ขาล ไม้ใหญ่ เอี๊ยง
4 เบ้า กระต่าย-เถาะ ไม้เล็ก อิม
5 ซิ้ง งูใหญ่-มะโรง ดินใหญ่ เอี๊ยง
6 จี๋ งูเล็ก-มะเส็ง ไฟใหญ่ เอี๊ยง
7 โง่ว ม้า-มะเมีย ไฟเล็ก อิม
8 บี่ แพะ-มะแม ดินเล็ก อิม
9 ซิม ลิง-วอก ทองใหญ่ เอี๊ยง
10 อิ้ว ไก่-ระกา ทองเล็ก อิม
11 สุก สุนัข-จอ ดินใหญ่ เอี๊ยง
12 ไห หมู-กุน น้ำใหญ่ เอี๊ยง


วัฏจักรของการให้กำเนิด (ส่งเสริม) ของธาตุทั้ง 5 ***



*** อักษรจีนทั้ง 5 ตัวในแผนภาพนี้ ไม่รวมอยู่ใน 22 ตัวที่ต้องจดจำและเป็นอักษรของธาตุทั้ง 5 ที่ไม่ได้แบ่งแยกเป็น อิม-เอี๊ยง
จากแผนภาพของ “วัฏจักรของการให้กำเนิด (ส่งเสริม) ของธาตุทั้ง 5” จะเห็นว่า

            ธาตุดิน ให้กำเนิด ธาตุทอง
            ธาตุทอง ให้กำเนิด ธาตุน้ำ
            ธาตุน้ำ ให้กำเนิด ธาตุไม้
            ธาตุไม้ ให้กำเนิด ธาตุไฟ
            ธาตุไฟ ให้กำเนิด ธาตุดิน

วัฏจักรของการพิฆาต (ทำลาย) ของธาตุทั้ง 5




 จากแผนภาพของ “วัฏจักรของการพิฆาต (ทำลาย) ของธาตุทั้ง 5” จะเห็นว่า

            ธาตุดิน พิฆาต ธาตุน้ำ
            ธาตุน้ำ พิฆาต ธาตุไฟ
            ธาตุไฟ พิฆาต ธาตุทอง
            ธาตุทอง พิฆาต ธาตุไม้
            ธาตุไม้ พิฆาต ธาตุดิน


ปฏิกิริยาของราศีบนทั้ง 10 ตัวที่มีต่อกัน


1. การรวมธาตุของราศีบน แล้วเปลี่ยนเป็นธาตุใหม่ เราเรียกว่า “ฮะ” ซึ่งจะมีอยู่ 5 คู่

ราศีบน (ธาตุ) ฮะ ราศีบน (ธาตุ) เป็น ธาตุ
ไม้ใหญ่ + ดินเล็ก = (ดิน)
ไม้เล็ก + ทองใหญ่ = (ทอง)
ไฟใหญ่ + ทองเล็ก = (น้ำ)
ไฟเล็ก + น้ำใหญ่ = (ไม้)
ดินใหญ่ + น้ำเล็ก = (ไฟ)

ข้อสังเกต
  • ในแต่ละคู่จะเป็นธาตุที่พิฆาตกัน ตัวหนึ่งจะเป็นพลัง เอี๊ยง และอีกตัวหนึ่งจะเป็น พลัง อิม อาจเรียกว่า เป็นคู่ ”พิฆาตต่างพลัง
  • ผลจากการรวมธาตุในแต่ละคู่ เราจะไม่สนใจว่า ธาตุใหม่ นั้นเป็น อิม หรือ เอี๊ยง

2. การพิฆาตพลังเดียวกัน หรือ ชง หรือ ชน (ของราศีบน เรียกว่า ชนบน)

เอี๊ยง () ชน เอี๊ยง () อิม () ชน อิม ()
ดินใหญ่ พิฆาต น้ำใหญ่ ดินเล็ก พิฆาต น้ำเล็ก
น้ำใหญ่ พิฆาต ไฟใหญ่ น้ำเล็ก พิฆาต ไฟเล็ก
ไฟใหญ่ พิฆาต ทองใหญ่ ไฟเล็ก พิฆาต ทองเล็ก
ทองใหญ่ พิฆาต ไม้ใหญ่ ทองเล็ก พิฆาต ไม้เล็ก
ไม้ใหญ่ พิฆาต ดินใหญ่ ไม้เล็ก พิฆาต ดินเล็ก

ปฏิกิริยาของราศีล่างทั้ง 12 ตัวที่มีต่อกัน


1. การรวมธาตุ หรือ ฮะ (ภาคี) กันของราศีล่าง
ราศีล่าง (ธาตุ) ฮะ ราศีล่าง (ธาตุ) เป็น ธาตุ
น้ำเล็ก + ดินเล็ก = (ดิน)
ไม้ใหญ่ + น้ำใหญ่ = (ไม้)
ไม้เล็ก + ดินใหญ่ = (ไฟ)
ดินใหญ่ + ทองเล็ก = (ทอง)
ไฟใหญ่ + ทองใหญ่ = (น้ำ)
ไฟเล็ก + ดินเล็ก = (ไฟ)


2. การพิฆาตกัน หรือ ชน ของราศีล่าง
ราศีล่าง (ธาตุ) ชน ราศีล่าง (ธาตุ)
น้ำเล็ก พิฆาต ไฟเล็ก
ดินเล็ก พิฆาต ดินเล็ก
ทองใหญ่ พิฆาต ไม้ใหญ่
น้ำใหญ่ พิฆาต ไฟใหญ่
ดินใหญ่ พิฆาต ดินใหญ่
ทองเล็ก พิฆาต ไม้เล็ก

3. การรวมกัน 3 ธาตุ หรือ ซาฮะ (ไตรภาคี) ของราศีล่าง
ราศีล่าง (ธาตุ) ฮะ ราศีล่าง (ธาตุ) ฮะ ราศีล่าง (ธาตุ) เป็น ธาตุ
ทองใหญ่ + น้ำเล็ก + ดินใหญ่ = (น้ำ)
น้ำใหญ่ + ไม้เล็ก + ดินเล็ก = (ไม้)
ไม้ใหญ่ + ไฟเล็ก + ดินใหญ่ = (ไฟ)
ไฟใหญ่ + ทองเล็ก + ดินเล็ก = (ทอง)

4. การรวมกัน 2 ธาตุ หรือ ครึ่งฮะ (ครึ่งภาคี) ของราศีล่าง
ราศีล่าง (ธาตุ) ฮะ ราศีล่าง (ธาตุ) หรือ ราศีล่าง (ธาตุ) ฮะ ราศีล่าง (ธาตุ) เป็น ธาตุ
ทองใหญ่ + น้ำเล็ก หรือ น้ำเล็ก + ดินใหญ่ = (น้ำ)
น้ำใหญ่ + ไม้เล็ก หรือ ไม้เล็ก + ดินเล็ก = (ไม้)
ไม้ใหญ่ + ไฟเล็ก หรือ ไฟเล็ก + ดินใหญ่ = (ไฟ)
ไฟใหญ่ + ทองเล็ก หรือ ทองเล็ก + ดินเล็ก = (ทอง)


5. การรวมกัน 3 ธาตุ อีกลักษณะหนึ่งตามทิศ หรือฤดูกาลหรือ ซาหวย ของราศีล่าง
ราศีล่าง (ธาตุ) + ราศีล่าง (ธาตุ) + ราศีล่าง (ธาตุ) เป็น ธาตุ
น้ำใหญ่ + น้ำเล็ก + ดินเล็ก = (น้ำ)
ไม้ใหญ่ + ไม้เล็ก + ดินใหญ่ = (ไม้)
ไฟใหญ่ + ไฟเล็ก + ดินเล็ก = (ไฟ)
ทองใหญ่ + ทองเล็ก + ดินใหญ่ = (ทอง)

สรุปเนื้อหา
            ปฐมบทเป็นเนื้อหาเบื้องต้นที่มีความสำคัญ ซึ่งผู้เรียนจะต้องใช้ความพากเพียรในการหัดอ่าน - เขียนอักษรจีน ทั้ง 22 ตัว พร้อมทั้งจดจำ การชง – ฮะ ของราศีบนและราศีล่าง อีกทั้งต้องย้อนกลับมาเปิดอ่านทบทวนอยู่บ่อย ๆ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้เนื้อหาในบทต่อๆ ไปได้เป็นอย่างดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

:: www.tiantek.com :: Designed by Templateism.com Copyright © 2014

รูปภาพธีมโดย Bim. ขับเคลื่อนโดย Blogger.