Latest News

ปฐมบท

ก่อนเรียนดวงจีน ผู้เขียนขอพูดถึงคำศัพท์ 2 คำ คำแรก คือ
1. หยิน–หยาง (อิม-เอี๊ยง)* หมายถึง 2 สิ่งที่เป็นคู่ตรงข้ามกัน เช่น หญิง-ชาย, กลางคืน-กลางวัน, เย็น-ร้อน เป็นต้น
2. เบญจธาตุ หรือ ธาตุทั้ง 5 ได้แก่ ธาตุดิน, ธาตุทอง, ธาตุน้ำ, ธาตุไม้, ธาตุไฟ

          สำหรับการเรียนดวงจีนในเบื้องต้น ขอให้ผู้เรียน จดจำอักษรจีนให้ได้ ซึ่งจะใช้เพียง 22 ตัวเท่านั้น โดยผู้เขียนขอแบ่งอักษรจีนออกเป็น 2 กลุ่ม – กลุ่มแรกมีอักษรจีน 10 ตัว ผู้เขียนขอเรียกว่า “กลุ่มราศีบน” เป็นกลุ่มที่เกี่ยวกับธาตุทั้ง 5 ส่วนอีกกลุ่มหนึ่ง ขอเรียกว่า “กลุ่มราศีล่าง” หรือ 12 นักษัตร นั่นเอง

ตารางราศีบน
ทุกปี พ.ศ. 7 8 9 0 1 2 3 4 5 6
ที่ลงท้ายด้วย
ราศีบน
อ่านว่า กะ อิก เปี้ย เตง โบ่ว กี้ แก ซิง หยิม กุ๋ย
ธาตุ ไม้ ไม้ ไฟ ไฟ ดิน ดิน ทอง ทอง น้ำ น้ำ
อิม/เอี๊ยง เอี๊ยง อิม เอี๊ยง อิม เอี๊ยง อิม เอี๊ยง อิม เอี๊ยง อิม

* หยิน-หยาง (เป็นภาษจีนกลาง) อิม-เอี๊ยง (เป็นภาษจีนแต้จิ๋ว)

ตารางราศีล่าง
ราศีล่าง อ่านว่า ปีนักษัตร ธาตุ อิม/เอี๊ยง
ทั่วไป เทียนเต็ก
จื้อ หนู-ชวด น้ำ เอี๊ยง อิม
ทิ่ว วัว-ฉลู ดิน อิม อิม
เอี้ยง เสือ-ขาล ไม้ เอี๊ยง เอี๊ยง
เบ้า กระต่าย-เถาะ ไม้ อิม อิม
ซิ้ง งูใหญ่-มะโรง ดิน เอี๊ยง เอี๊ยง
จี๋ งูเล็ก-มะเส็ง ไฟ อิม เอี๊ยง
โง่ว ม้า-มะเมีย ไฟ เอี๊ยง อิม
บี่ แพะ-มะแม ดิน อิม อิม
ซิม ลิง-วอก ทอง เอี๊ยง เอี๊ยง
อิ้ว ไก่-ระกา ทอง อิม อิม
สุก สุนัข-จอ ดิน เอี๊ยง เอี๊ยง
ไห หมู-กุน น้ำ อิม เอี๊ยง


ราศีบนและราศีล่างที่เทียบเท่ากัน**
ธาตุ ราศีบน อิม/เอี๊ยง ราศีล่าง
ไม้ใหญ่ เอี๊ยง
ไม้เล็ก อิม
ไฟใหญ่ เอี๊ยง
ไฟเล็ก อิม
ดินใหญ่ เอี๊ยง หรือ
ดินเล็ก อิม หรือ
ทองใหญ่ เอี๊ยง
ทองเล็ก อิม
น้ำใหญ่ เอี๊ยง
น้ำเล็ก อิม

** ตารางเทียบเท่าของราศีบนและล่างนี้ยึด อิม-เอี๊ยง ตามราศีบน ฉะนั้น ราศีล่างจึงต้องใช้ อิม-เอี๊ยง ตามราศีบน


วิธีเขียนอักษรตัวบนของจีน 10 ตัว
การตั้งดวงจีน

:: www.tiantek.com :: Designed by Templateism.com Copyright © 2014

รูปภาพธีมโดย Bim. ขับเคลื่อนโดย Blogger.